เมนู

ในที่ลึกมีนี้เป็นที่สุด ท่านอธิบายว่าดีตราบเท่าที่นับได้ว่าฝังไว้ในที่ลึกมีน้ำเป็น
ที่สุด. บทว่า น สพฺโพ สพฺพทาเยว ตสฺส ตํ อุปกปฺปติ ความว่า
ขุมทรัพย์ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ ไม่สำเร็จผลแม้ทั้งหมด ท่านอธิบายว่า ไม่
สามารถทำกิจตามที่กล่าวมาแล้ว แก่บุรุษที่ฝังไว้ได้ทุกเวลา. คืออะไรเล่า คือ
ว่า บางครั้งก็สำเร็จประโยชน์ บางครั้งก็ไม่สำเร็จประโยชน์เลย. ศัพท์ว่า ตํ
ในคาถานั้น พึงเห็นว่าเป็นนิบาต ลงในอรรถว่าปทปูรณะทำบทให้เต็ม เช่นใน
ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยถา ตํ อปฺปมตฺตสฺส อาตาปิโน. หรือว่าท่าน
ทำลิงค์ [เพศศัพท์] ให้ต่างกัน เมื่อควรจะกล่าวว่า โส ก็กล่าวเสียว่า ตํ. จริง
อยู่เมื่อกล่าวอย่างนั้น ความนั้น ก็รู้ได้สะดวก.

พรรณนาคาถาที่ 4 และที่ 5


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสว่า น สพฺโพ สพฺพทาเยว ตสฺส ตํ
อุปกปฺปติ
อย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเหตุที่ไม่สำเร็จประโยชน์ จึง
ตรัสว่า
เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนย้ายจากที่ไปเสียบ้าง ความ
จำของเขา คลาดเคลื่อนไปเสียบ้าง พวกนาคลักไป
เสียบ้าง พวกยักษ์ลักไปเสียบ้าง ทายาทผู้รับมรดกที่
ไม่เป็นที่รักขุดเอาไป เมื่อเขาไม่เห็นบ้าง.

คาถานั้น มีความว่า ขุมทรัพย์นั้น เคลื่อนย้ายออกไปจากที่ ๆ เขาฝัง
ไว้ดีแล้ว คือ แม้ไม่มีเจตนาก็ไปที่อื่นได้ โดยเจ้าของสิ้นบุญบ้าง. ความจำ
ของเขา คลาดเคลื่อน คือเขาจำไม่ได้ถึงที่ ๆ ฝังขุมทรัพย์ไว้บ้าง พวกนาค ที่
ความสิ้นบุญของเขาเตือนแล้ว ยักย้ายขุมทรัพย์นั้น เอาไปที่อื่นเสียบ้าง พวก
ยักษ์ลักพาเอาไปตามชอบใจเสียบ้าง พวกทายาทผู้รับมรดกที่ไม่ชอบกัน ขุด

พื้นดินยกเอาขุมทรัพย์นั้นไป เมื่อเขาไม่เห็นบ้าง. ขุมทรัพย์นั้น ไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่เขา เพราะเหตุมีการเคลื่อนที่เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสเหตุที่ไม่สำเร็จประโยชน์ ซึ่งโลกสมมต
มีการทำให้เคลื่อนที่เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อทรงแสดงเหตุ ที่เข้าใจกันว่า
ความสิ้นบุญอย่างหนึ่งอย่างเดียวที่เป็นมูลแห่งเหตุแม้เหล่านั้น จึงตรัสว่า ยทา
ปุญฺญกฺขโย โหติ สพฺพเมตํ วินสฺสติ.

คาถานั้นมีความว่า สมัยใด บุญที่ทำโภคสมบัติให้สำเร็จ สิ้นไป ก็จะ
ทำสิ่งที่มิใช่บุญ ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งโภคสมบัติ มีโอกาสตั้งอยู่ สมัย
นั้น ธนชาตใดมีเงินและทองเป็นต้น ซึ่งผู้ฝังขุมทรัพย์ฝังไว้แล้ว ธนชาตนั้น
ทั้งหมด ก็พินาศหมดสิ้นไป.

พรรณนาคาถาที่ 6


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถึงขุมทรัพย์ ที่แม้บุคคลฝังไว้แล้วด้วย
ความประสงค์นั้น ๆ แต่ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ตามที่ประสงค์ ถึงโลกสมมตก็ต้อง
มีอันพินาศไปเป็นธรรมดา บัดนี้เพื่อทรงแสดงบุญสัมปทาเท่านั้นว่า เป็นขุม
ทรัพย์โดยปรมัตถ์ เมื่อทรงแสดงนิธิกัณฑสูตรนี้ ที่ทรงเริ่มเพื่ออนุโมทนาแก่
กุฎุมพีนั้น จึงตรัสว่า
ขุมพรัพย์ ของใด จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็
ตาม ชื่อว่าผังไว้ดีแล้ว ก็ด้วยทาน ศีล สัญญมะ และ
ทมะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานํ พึงถือเอาตามนัยที่กล่าวไว้แล้วใน
มงคลข้อที่ว่า ทานญฺจ ธมฺมจริยา นั้น. บทว่า สีลํ ได้แก่ การไม่ล่วง
ละเมิดทางกายและวาจา คือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และปาฏิโมกข์สังวรศีล